ทักษะการเล่นเบส

สวัสดีครับ มาติดตามกันต่อกับบทความเพื่อ ฝึกเริ่มเล่นเบส คราวที่แล้ว ได้ พูด ถึง ตัวโน๊ต โด เร มี ฟา ซอล ...กันไปแล้ว ส่วน ความยาวตัวโน๊ตก็พูดถึง ตัวกลม ตัว ขาว และ ตัว ดำ บทความนี้จะขอพูดถึงเกี่ยวกับตัวโน๊ตอื่นๆ นอกเหนือจาก 7 ตัวนี้ จนครบ 12 ตัว แต่ยังจะเล่นเป็นตัวอย่างโดยใช้ ตัวกลม ตัวขาว ตัวดำครับ และจะพูด ถึง ความหมายของคีย์ สเกล และคอร์ดเบื้องต้น ลองติดตามกันดู


ในดนตรีสากล เครื่องดนตรี ส่วนใหญ่สามารถ จะเล่น โน๊ตได้ มากกว่า 7 ตัว มีเครื่องดนตรีหลายชิ้นที่สามารถ เล่นโน๊ต ได้ ครบ ทั้ง 12 ตัวโน๊ต ทำให้สามารถเล่นได้ทุกคีย์ (คำว่าคีย์จะอธิบายอีกที)
เปรียบเทียบกับ เครื่องดนตรี ไทยก็ได้ครับ ส่วนใหญ่ เครื่องดนตรีไทย มีโน๊ต ไม่ครบ 12 ตัว ทำให้ เล่นเพลงสากลไม่ได้ ต้องปรับ เพลงในบางส่วน ถ้า เพื่อมาเล่นกะดนตรีสากลครับ แต่ก็เคยได้ยินว่า "แคน"เครื่องดนตรีภาคอีสานของเรา สามารถ เล่นโน๊ตได้ครบ 12 ตัวครับ ในส่วนของเบสกีตาร์ สามารถ เล่น ตัวโน๊ตได้ทุกตัวครับโน๊ตทั้ง 12 ตัว ครับ ตัวโน๊ตก็มีดังนี้ คือ



1. C โด
2. C# , Db โด ชาร์ป หรือ เร แฟร็ต
3. D เร
4. D# ,Eb เรชาร์ป หรือ มี แฟร็ต
5. E มี
6. F ฟา
7. F# , Gb ฟา ชาร์ป หรือ ซอล แฟร็ต
8. G ซอล
9. G# , Ab ซอล ชาร์ป หรือ ลา แฟร็ต
10. A ลา
11. A# ,Bb ลาชาร์ป หรือ ที แฟร็ต
12. B ที
โน๊ตทั้งหมดจะ วางอยู่บนเฟร็ต หรือฟิงเกอร์บอร์ด ตามรูปด้านล่างนี้ ส่วน จากเฟร็ต 12 เป็นต้นไปก็เรียงโน๊ตไปเหมือนกัน (มองเฟร็ต 13 เท่ากับเฟร็ต1 เฟร็ต 14 เท่ากับ เฟร็ต 2 ไปเรื่อยๆ จนถึง เฟร็ต 24 เท่ากับเฟร็ต 12 นะเอง ครับ)

เครื่องหมายที่ตามหลังตัวโน๊ตมาหรือ (Accidental) เครื่องหมาย # ให้อ่านว่าชาร์ป หมายถึง เล่นโน๊ตตัวนั้น แต่ สูง ขึ้น ครึ่งเสียง (1เฟร็ต)
เครื่องหมาย b ให้อ่านว่า แฟร็ต หมายถึงเล่นโน๊ตตัวนั้น แต่ต่ำว่า ครึ่ง เสียง (1 เฟร็ต)
Tips ให้มองว่าโลกนี้ มี โน้ตด้วยกัน 12 ตัวครับ จะได้เข้าใจง่ายๆ ครับ ไม่ใช่ 7
โน๊ตทั้ง 12 ตัว พอเรียงกัน ก็เรียกว่า บันไดเสียง (Scale) โครมาติค ส่วนตัว ผม จะมองว่า Scale นี้ มันเป็น พื้นฐาน ให้ Scale อื่น ๆ คือรวมโน๊ตทุกตัวมากกว่าครับ เป็นเหมือนตารางที่ห่างเท่าๆกัน ทุกครึ่งเสียง ไม่ได้ให้ความรู้สึกอะไร
Tips ข้อสังเกต คือ โลกนี้จะไม่มีใครพูดตัวโน๊ตที่ว่า E# หรือ Fb , B# หรือ Cb มีแต่พูดตอนเรียนทฤษฎี(ลึก)เท่านั้น โลกความเป็นจริงไม่มีโน๊ตเหล่านี้ เพราะ E# มันคือ F ,Fb มันคือ E, B#มันคือC , CbมันคือB
ต่อไป มาพูดถึง คำว่าคีย์กันครับ

คีย์ Key ก็หมายถึง กลุ่มตัวโน๊ต ที่ถูกนำใช้ โดยมากในเพลงนั้นๆ ถ้าบอกว่าเพลงนี้คีย์ C กลุ่มตัวโน๊ตที่เอามาเล่นในเพลงก็อยู่ ใน 7 ตัว ก็คืออยู่บน C Major Scale มีโน๊ตคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที และคอร์ด ที่เล่นก็จะสัมพันธ์กันกะสเกลนี้ หรือ ก็คือ เอามาจากโน๊ต 7 ตัวใน คีย์นั่นเอง ที่ใช้คำว่าโดยมาก เพราะ เพลง ๆนึงไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้โน๊ตแค่ 7ตัวเท่านั้น ยังสามารถ เพิ่ม คีย์ เปลี่ยนคีย์ เอาคอร์ดส่งอื่น ๆมาใช้ เกิด ตัวโน๊ตใหม่ๆ เข้ามาในคีย์ บางคนโซโล่โดยใช้โหมดซึ่งจะได้โทนใหม่ ซึ่งแน่นอน มีโน๊ตเข้ามามากขึ้น สรุปว่า อย่ายึดติดครับ
--------จงทำความเข้าใจคำว่า คีย์ และ Scale ให้ดี มันเกี่ยวข้องกับโน๊ต 7 ตัวเดียวกันแต่ในคนละลักษณะอ่ะครับ--------------
แต่มีข้อสังเกตคือ 1 เพลง ไม่จำเป็น ต้องเล่นโน๊ต แต่ในคีย์นั้นก็ได้ จะเล่น โน๊ตแค่ 5 ตัวใน คีย์ก็ได้ หรือจะดึงตัวโน๊ตนอกคีย์มาเล่นก็ได้ จะ เปลี่ยน คีย์ไปมาก็ยังได้ ครับ ไม่ได้บังคับครับ บางคนบอกเพลงของผมไปซ้ำกะคนอื่น เพราะ โน๊ตมันมีแค่ 7 ตัว ให้ทำไง ผมว่า คนพูดงี้มันไม่ได้เรื่องอ่ะครับ
คงเข้าใจคำว่าคีย์แล้วนะ ต่อไป มาดูโน๊ตใน คีย์ ทั้ง หมดกัน
คีย์ C มีโน๊ต C D E F G A B C
คีย์ D มีโน๊ต D E F# G A B C# D
คีย์ E มีโน๊ต E F# G# A B C# D# E
.... อ๊ะ! ไม่บอกหรอก บอกไปคุณก็จำไม่ได้
ไม่ต้องจำตอนนี้ครับ แต่ให้ทำตามวิธีนี้้ ครับ
การหาตัวโน๊ตในคีย์ หรือ Scale แล้วก็ให้ไล่ดีด ตามฟอร์มนิ้วเดิมครับ แต่เปลี่ยน Root ไป คีย์ที่ต้องการครับ ก็จะเฉลยโน๊ตที่ เราต้องการออกมา
เช่นผมจะไล่ Scale Major โดยวางนิ้ว ฟอร์มตามนี้ 2 4 - 1 2 4 - 1 3 4 เหมือนตัวอย่างคราวที่แล้วนะ
1 คือ นิ้วชี้(ซ้าย)
2 คือ นิ้วกลาง
3 คือ นิ้วนาง
4 คือ นิ้วก้อย
- ขีดคือ เปลี่ยนสายนะ ดูตามวีดีโอครับ
http://www.youtube.com/watch?v=PYuteSRPc10


จำไปเลยนะ 2 4 1 2 4 1 3 4 เป็น พื้นฐาน ให้เล่นจนแก่เลย กลาง ก้อย - ชี้ กลาง ก้อย - ชี้ นาง ก้อย เข้าใจแล้วนะ
ต่อไปจะอธิบายคำว่าราก หรือ รูท การเริ่มดีดโน๊ตตัวแรกในสเกลตามวีดีโอก็คือ นิ้ว 2 (นิ้วกลาง) ตัวแรก หรือโน๊ตที่ดีดตัวแรกของสเกล ให้เรียกว่า Root นะ ตัวโน๊ตตัวต่อ ไปที่ได้ ก็ให้เรียกว่า ตัวที่ 2 ตัวที่ 3 ตัวที่ 4 ตัวที่ 5....ไปเรื่อย ๆครับ
R 2 3 4 5 6 7 8
C D E F G A B C
อันนี้ คือ บันไดเสียง C Major
D ก็เป็นตัวที่ 2 ของ C Major
E ก็เป็นตัวที่ 3 ของ C Major
... ไล่ไปเรื่อยๆ
เข้าใจแล้วนะ แล้วก็ลอง อย่างนี้ เลื่อน ไอ้ 2 4 1 2 4 1 3 4 เปลี่ยน Root มันไป ตามท่ต้องการ
http://www.youtube.com/watch?v=Y1CfCRMEB1I

เปลี่ยน ไป D ซิ ก็จะได้ D major ไป E ซิ ก็ได้ E major ไป F (ตามวีดีโอด้านบน) ซิ....แล้วทำเองให้ครบ12 คีย์ 2 4 1 2 4 1 3 4 เหมือนเดิม (เหมือนใส่เสื้อตัวเดิม แต่ เปลี่ยนคนใส่) ก็ จะได้ โน๊ต ใน สเกล Major ของ รูท ๆนั้นทั้ง่หมด พอนิ้วเราไปแล้วก็จะเฉลยตัวโน๊ตในคีย์ออกมาทั้งหมดครับ ถ้าใครยังจำโน๊ตบนเฟร็ตไม่ได้ก็กลับไปดูตารางด้านบน หรือ ทบทวนบทความที่แล้วๆ มานะครับ จากนี้ คุณก็จะเขียน ตัวโน๊ตใน สเกล เมเจอร์ ทั้ง 12 คีย์ออกแล้วนะ นั่งทำเป็นการบ้านดูครับ
เวลาที่เรา เลื่อน Root ไป ข้างหน้า หรือ ข้างหลัง เค้า เรียกศัพท์ ภาษาอังกฤษ ว่า Tranposition หรือ Transpose ทรานสโพส หรือว่า เลื่อนคีย์ นะเอง
อย่างเพลงนี้ เล่นอยู่ในตัวโน๊ตของ Cmajor (คีย์ C) เพื่อน บอก Tranpose ขึ้น ครึ่งเสียง บางคนเรียกว่าเพิ่มคีย์ นั่น หมายความว่า เลื่อน C major ให้ เป็น C# major โน๊ตทั้ง 7 ตัวก็โดนเลื่อน ขึ้น ครึ่งเสียงหมดเลย ทุกตัวเลื่อนหมด ได้กลุ่มตัวโน๊ต ใหม่ แต่สำหรับเบสเราไม่ต้องสนใจก็ได้ เราแค่เลื่อนมือ แล้วเล่นโน๊ตในโครงสร้างที่เหมือนเดิม(หน้าตาเหมือนเดิม) หลับตาเล่น แล้วเล่นเหมือนเดิมก็เท่านั้น (อันนี้เป็นข้อดีของ เครื่องดนตรีแบบ Fret เช่น เบสหรือ กีต้าร์ แต่ถ้าเป็น เปียโน การ Transpose ยากเหมือนกัน เพราะ ต้องรู้ว่ามีโน๊ตไรบ้าง ยกเว้น คีย์บอร์ดไฟฟ้า ที่สามารถใช้ ตัวอิเล็กทรอนิคส์เครื่องเข้ามาจัดการ ทรานสโพสต์ได้)
Tips การ Transpose ลงหรือขึ้น เดี๋ยวนั้น เดี๋ยวนี้เวลาเล่นสด เช่นนักร้องต้องการให้ลดคีย์ หรือไปแจม บลูส์กะเพื่อน หรือว่า เพลงนั้นเพลงนี้ มีการเล่นลดเสียง ส่วนใหญ่ นักดนตรีจะง่อยรับประทาน มึความกลัวมากๆ ซึ่งเป็นเป็นจุดอ่อนมากๆ ครับ มันเป็นเบสิคที่สำคัญครับ น้องๆ ฝึกเข้าไว้นะ จะได้แซงรุ่นพี่ครับ ถ้าในวงบอกเอา คีย์ไหนเราก็เล่นได้ ทั้งเพลง อันนี้ ถือว่ามีความเป็นโปรอย่างมากเลยครับ
แนะนำการฝึก ลอง เปิด หนังสือเพลง ครับ เล่นเพลง เดิมแต่ลองเลื่อนขึ้นหรือ ลงเลยครับ ดูคอร์ด ไปแล้ว คิด ทรานสโพสต์ ทันทีฝึกให้คล่องๆ ครับเพื่อใช้ใน สถานะการณ์จริง อันนี้อย่าคิดว่ายากนะ จงพยายามครับ
สรุป สมมุติ ถ้า นักร้อง ร้องไม่ไหว เสียงสูง จัด เค้า บอก ให้เลื่อนลง ครึ่ง คีย์ซิ ก็หมายถึง ถ้าเพลงนั้นเป็นคีย์ B major เลื่อนลง เสียงนึงเลย ก็ Bbmajor เข้าใจยังขอรับ
หรือ บางเพลง ในเพลงเดียวกัน มีการเปลี่ยน คีย์ ก็มี เป็น เรื่องปกติมาก เลยครับ ดังนั้น หน้าที่ของคุณคือทำความคุ้นเคยกะ คีย์ให้ดีครับ อย่างน้อย ๆคีย์ ที่เค้าเล่นกัน หลัก ๆต้องพอจำให้ได้ว่ามีโน๊ตไรบ้างครับ จะทำให้เรามีพื้นฐานที่ดีครับ
คีย์ หลัก ๆ ที่ต้องฝึกกัน ก็ C G D A E F Bb Eb

การดูว่าเพลงนั้น เพลงนี้ คีย์ไหน ส่วนใหญ่ จะ ดู ว่าคอร์ด แรก คอร์ด อะไร ครับ แต่ ก็อาจจะพลาดได้นะ เราต้องดู กลุ่มตัวโน๊ต หรือ กลุ่มคอร์ด ว่าสัมพันธ์กะคีย์ไหนสุด ถึงจะชัวร์กว่าครับ บางเพลงเอาท่อนอื่นๆ มาขึ้น บางเพลง มีการเปลี่ยน คีย์ การดูแต่เฉพาะ คอร์ดแรก ก็มีโอกาสผิดสูงครับ
ต่อไปจะเริ่มอธิบายคำว่าคอร์ด
คอร์ด คือ กลุ่มตัวโน๊ต 3 ตัว ขึ้นไป มาอยู่ด้วยกัน มาอยู่รวมกัน หรือ ประสานสียงกัน 1 คอร์ด ประกอบขึ้น จาก โน๊ต 3 ตัวขึ้นไป ลักษณะของตัวโน๊ตที่มีรวมกันเป็นคอร์ด จะอยู่ห่างๆ กันครับ ถ้าสมมุติมีตัวโน๊ต เรียงไปตามสเกล ไปเรื่อยๆ (2 Octave) ตามนี้ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 คอร์ด โดยมากจะมี โครงสร้างเป็น 1 3 5 , 1 3 5 7, 1 4 5, (เป็นตัวโน๊ตที่ค่อนข้างห่างกันหน่อย) จะไม่มีคอร์ด แบบ 1 2 3 แน่นอนครับ ตัวโน๊ตมันใกล้กันจนกัดกันครับ (ลองไปกดคีย์บอร์ดดู ว่าเสียงเป็นแบบไหน)
กลุ่มของคอร์ด ให้มองเป็นตามนี้ครับ ให้เริ่มมองตามนี้
คีย์ C major (หรือเรียกคีย์ C เฉยๆ ) มีโน๊ต - C D E F G A B C (ตัวภาษาอังกฤษบรรทัดนี้แทนตัวโน๊ต เดี่ยวๆ)
คอร์ด 3 เสียง หรือ Triad (1คอร์ด มี 3 ตัวโน๊ต) มี คอร์ด ได้แก่ C Dm Em F G Am Bdim C
คอร์ด 4 เสียง หรือ Tetra-ad (1คอร์ด มี 4 ตัวโน๊ต) มีคอร์ดได้แก่ Cmaj7 Dm7 Em7 Fmaj7 G7 Am7 Bm7b5 Cmaj7
ยกตัวอย่างการอ่านชื่อคอร์ด
C อ่านว่าคอร์ด ซี หรือคอร์ด ซีเมเจอร์ แต่ไม่จำเป็นต้องอ่านว่าคอร์ด ซีเมเจอร์ครับ เพราะ รู้กันอยู่แล้วว่าเป็น เมเจอร์ ถ้าไม่ได้พูดอะไรต่อท้าย
Dm อ่านว่า คอร์ด ดี ไมเนอร์ (ห้ามเขียนตัวเอ็มด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เพราะ ถ้าตัวพิมพ์ใหญ่ จะหมายถึง เมเจอร์)
Bdim ให้อ่านว่า บีดิม หรือ บีดิมมินิช
Em7 ให้อ่านว่า อีไมเนอร์เซเว่น (การเขียนตัวเลขเจ็ด ห้ามมีขีดกลางครับ จำไว้เลยครับ)
Fmaj7 ให้อ่านว่า เอฟเมเจอร์เซเว่น
G7 ให้อ่านว่า จี เซเว่น ชื่อจริงๆ มันคือ โดมิแน้นท์เซเว่น แต่ไม่จำเป็นต้องเรียกครับ
Bm7b5 ให้อ่านว่า บีไมเนอร์เซเว่นแฟร็ตไฟว์
Tips Triad มีโน๊ต 3 ตัว เป็นส่วนหนึ่ง (Subset) ของ Tetra-ad มีโน๊ต 4 ตัว
การบ้าน คือ จากที่เราหา โน๊ต ใน บันไดเสียง เมเจอร์ โน๊ตในคีย์เป็นแล้ว พอหาออกมาได้ 12 คีย์แล้ว ก็มา หัดใส่ สกุลคอร์ด ให้ กับตัวโน๊ตนั้นๆ ก็จะได้ กลุ่มคอร์ด ของทุกคีย์ออกมา
วอย่าง คีย์ C major มีโน๊ต - C D E F G A B C (ตัวภาษาอังกฤษบรรทัดนี้แทนตัวโน๊ต เดี่ยวๆ)
Triad มี คอร์ด ได้แก่ C Dm Em F G Am Bdim C
Tetra-ad มีคอร์ดได้แก่ Cmaj7 Dm7 Em7 Fmaj7 G7 Am7 Bm7b5 Cmaj7
ลองหาคีย์อื่นๆดู ลอง G major มีโน๊ตไรบ้างลองไล่ดิ๊ 24 -124 -134 อ่ะ ได้โน๊ต
G A B C D E F# G (ตัวภาษาอังกฤษบรรทัดนี้แทนโน๊ตเดี่ยวๆ)
ใส่ชื่อคอร์ด (เสื้อ)Triad และTetra-ad เลียนแบบในคีย์ C เหมือนเดิม(ตัวเดิม)
ก็ได้
G Am Bm C D Em F#dim G และ
Gmaj7 Am7 Bm7 Cmaj7 D7 Em7 F#m7b5 G
ก็จะได้ โน๊ตและกลุ่มคอร์ดออกมา ถ้าเราคุ้นเคยกะกลุ่มคอร์ดของคีย์นั้นๆ หรือ คุ้นเคยกะโน๊ตในคีย์นั้น ก็จะรู้ว่าเพลงนี้ ท่อนนี้กะลังเล่น คีย์อะไรอยู่
สิ่งที่ คุณต้องจำก็คือ คอร์ดที่ 1 หรือ Root จะเป็น คอร์ด Maj นะ คอร์ด ที่ 2 เป็น Minor นะ คอร์ด ที่ 3 จะเป็น Minor คอร์ด ที่ 4 เป็น Major....แบบนี้ไปเรื่อย ๆ เสื้อเหมือนเดิมแต่เปลี่ยน Root นั่นเองครับ ลองไล่กันดู หรือจะจำว่า อ้อ เจอ คอร์ด D ในคีย์ C มันไม่ใช่ D Major มันต้องเป็น D minor สิ หรือ เจอ คอร์ด E ในคีย์ G โห่บอกไปเลยว่าต้องเล่น Em แต่ว่า อย่าลืมคำว่าคอร์ด นอกคีย์นะ เพราะสามารถมีได้ อย่างเพลง หยุด ของ Groove riders เพลงนี้คีย์ C แต่ คอร์ด D ดันเป็น เมเจอร์อ่ะ อันนี้ มีการใช้ทฤษฎีอื่นเข้ามาเพิ่มสีสันในเพลงครับ ส่วนกลุ่มคอร์ดพวกนี้มาจากไหน ไว้จะอธิบายทีหลังแล้วกัน เอาเป็นว่า โน๊ตที่ประกอบขึ้นมาเป็นคอร์ด มันก็อยู่ใน 7 ตัว ของคีย์มันเองนั่นแหล่ะ
ต่อไป เอาการบ้านเก่ามาทำกัน
การบ้าน ครับ เล่นเบส ตามคอร์ดต่อไปนี้ และ ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ เล่นโน๊ตตัว Root ของคอร์ด ใน Position แรก ใช้โน๊ต ตัวกลม ขาว และดำ เล่นไปเรื่อยๆ ฟังเสียงคอร์ดไปด้วย และตามจังหว่ะให้ดีครับ

Bdim Em Am Dm G C (คอร์ด Triad)
ได้คอร์ด 3 ตระกูล คือ
1. _dim ดิมินิช
2. _m ไมเนอร์ และ
3. _ เมเจอร์
http://www.activebass.com/default.asp?src=g&gv=100&bv=0&dv=0&r=1&d=20%3A26-8%3A2-17%3A2-5%3A2-14%3A1-2%3A1-&l=6&f=1&ms=1&me=6&t=90
(ในหน้า เว็ป ของ Activebass จะมี คอนโซลให้ปรับ เกี่ยวกับ Tempo จังหว่ะ หรือ ดับเสียงกลอง ลองปรับดูครับ แต่ถ้าใครไม่สะดวก สามารถ หาโปรแกรมที่ ชื่อ Band In A Box มาลงก็ได้ครับ ช่วยได้อย่างมากเลย )
คราวนี้ให้เพิ่มเป็น คอร์ด Tetra-ad ครับ
Bm7b5 Em7 Am7 Dm7 G7 Cmaj7
http://www.activebass.com/default.asp?src=g&gv=100&bv=0&dv=0&r=1&d=20%3A24-8%3A11-17%3A11-5%3A11-14%3A9-2%3A14-&l=6&f=2&ms=1&me=6&t=80
ได้คอร์ด 4 ตระกูล คือ
1. _m7b5 ไมเนอร์เซเว่นแฟร็ตไฟต์
2. _m7 ไมเนอร์เซ่เว่น
3. _7 โดมิแน้นท์เซเว่น(เรียกเซเว่นเฉยๆ)
4. _maj7 เมเจอร์เซเว่น
แล้วลองเล่นในคีย์อื่น ๆ บ้างครับ
คีย์ C เล่น Bm7b5 Em7 Am7 Dm7 G7 Cmaj7
คีย์ G เล่น F#m7b5 Bm7 Em7 Am7 D7 Gmaj7
คีย์ D เล่น C#m7b5 F#m7 Bm7 Em7 A7 Dmaj7
คีย์ A เล่น G#m7b5 C#m7 F#m7 Bm7 E7 Amaj7
คีย์ E เล่น D#m7b5 G#m7 C#m7 F#m7 B7 Emaj7
คีย์ B เล่น A#m7b5 D#m7 G#m7 C#m7 F#7 Bmaj7
เล่นทั้ง ตัวกลม ตัวขาว และ ตัวดำ ให้ฟังเสียงคอร์ด ให้ดีครับ จำความรู้สึก Character ลักษณะ ของโทนเสียง โทนคอร์ด ที่ออกมา เล่น ตรงตามจังหว่ะ ให้ได้ การดีดแต่หล่ะ ครั้ง เสียงอย่าห้วน สั่น Buzz ควรคุมการดีด ในแต่หล่ะ ตัวโน๊ตให้ เสียงดัง เท่าๆกันด้วย
Advance เพิ่มความเร็ว Tempo ของ Metronome ขึ้นไปบ้างเมื่อคล่องแล้ว
การบ้าน ครับ
ให้หาโน๊ต ใน Scale Major ทั้งหมดออกมา ของทุกคีย์ เลยครับ ผมกำหนด Root ให้เป็น 2 แถวเรียงตามนี้
1. C G D A E B F# C# G# D# A# F (หาโน๊ตใน Cmajor ออกมา,ใน G major ออกมา ไปเรื่อยๆจนถึง F....แต่มีข้อแม้คือ ห้ามเขียนโน๊ตด้วยเครื่อง b แฟร็ต ให้เป็นชาร์ปให้หมด)
2 .C F Bb Eb Ab Db Gb B E A D G (หาโน๊ตใน C major ออกมาใน F major ออกมา ไปเรื่อยๆ จนถึง G....แต่มีข้อแม้คือ ห้ามเขียนโน๊ตด้วย # ชาร์ปให้เขียน แฟร็ตทั้งหมด)
การบ้านนี้มีความหมายสำหรับ บทความคราวหน้าครับ ไว้จะเฉลย และอธิบายต่อไปครับ ลองทำกันดูหวังว่าคงไม่ทำให้ปวดหัวจนเกินไป

1 ความคิดเห็น: